ความรู้งานก่อสร้าง : ขนาดของท่อประปา

สาระน่ารู้ : ท่อปะปาขนาดต่างๆและการใช้งานที่เหมาะสม

 

สาระน่ารู้วันนี้ขอเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวของท่อ PVC ขนาดต่างๆและความเหมาะสมกับการใช้งานครับ

ขนาดท่อพีวีซีในการเลือกใช้งาน

  • ½” (สี่หุน) หรือ 18 มม.    –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 22 มม.
  • ¾” (หกหุน) หรือ 20 มม.  –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 26 มม.
  • 1” หรือ 25 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 34 มม.
  • 1¼” หรือ 35 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 42 มม.
  • 1½” หรือ 40 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 48 มม.
  • 2” หรือ 55 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 60 มม.
  • 2½” หรือ 65 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 76 มม.
  • 3” หรือ 80 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 89 มม.
  • 4” หรือ 100 มม.    –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 114 มม.
  • 5” หรือ 125 มม.   –     เส้นผ่าศูนย์กลาง 140 มม.
  • 6” หรือ 150 มม.    –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 165 มม.-ok
  • 8” หรือ 200 มม.   –     เส้นผ่าศูนย์กลาง 216 มม.
  • 10” หรือ 250 มม.   –    เส้นผ่าศูนย์กลาง 267 มม./ 12″300 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 318 มม.

 

ท่อ PVC ที่ดีเป็นยังไง

ท่อ PVC ที่ดีและมีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน มอก.จะต้องมีความทนทานและแข็งแรง โดยการใช้งานจะต้องใช้งานได้มากถึง 60ปีขึ้นไป มีขนาดตั้งแต่ 1/2นิ้ว จนถึง 24นิ้ว  สำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก.17-2532 ท่อชนิดนี้เป็นที่นิยม ใช้งานประปาสุขาภิบาล ภายในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อน้ำประปา หรือ ใช้กับปั๊มน้ำ มีการระบุมาตรฐานความดันหรือชั้นคุณภาพ ได้แก่ 5, 8.5, 13.5

 

ขนาดในการเลือกใช้

  • ชนิดประปา ชนิดปลายเรียบ,บานหัว 1/2 – 24 นิ้ว สำหรับประปา
  • ชนิดเซาะร่อง 2 – 8 นิ้ว สำหรับงานน้ำบาดาล
  • ชนิดแหวนยาง 2 – 16 นิ้ว สำหรับใช้ในระบบประปาของกรมชลประทานและระบบประปาหมู่บ้าน

 

ท่อพีวีซีแต่ละขนาดจะมีสามชั้นความดัน (Class) ซึ่งชั้นความดันจะตัววัดว่าท่อรับแรงดันน้ำ (Working Pressure) ได้มากแค่ไหน ชั้นความดันของท่อจะมีดังนี้

 

1.ท่อชั้น 5 รับความดันได้ 5 กก.ต่อตารางเซนติเมตร หรือ 5Bar หรือ 0.5 MPa หรือ 72.5 Psi เหมาะสำหรับงานที่มีแรงดันน้อย เช่นทำการเกษตร ท่อเกษตร หรือท่อทิ้งน้ำทิ้งในอาคาร

 

2.ท่อชั้น 8.5 รับความดันได้ 8.5 กก.ต่อตารางเซนติเมตร หรือ 8.5Bar หรือ 0.85 MPa หรือ 123 Psi เหมาะกับงานสุขาภิบาล และการเกษตร

 

3.ท่อชั้น 13.5 รับความดันได้ 13.5 กก.ต่อตารางเซนติเมตร หรือ 13.5Bar หรือ 1.35 MPa หรือ 195 Psi เหมาะสำหรับท่อที่มีแรงดันสูง น้ำดีภายในหรือภายนอกอาคาร ส่วนมากจะใช้เป็นท่อหลัก ท่อเมน หรือท่อประธาน

 

 

หวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในเบื้องต้นกับผู้ใช้งานและผู้รับเหมา หรือช่างประปาที่กำลังมองหาท่อปะปาและคำนวณท่อให้เหมาะกับการใช้งานนะครับ

 

 

 

 

Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “ปัญหาน้ำรั่วซึมขอบหน้าต่าง”

สาระน่ารู้ : ปัญหาน้ำรั่วซึมขอบหน้าต่าง

 

ปัญหาน้ำรั่วซึมขอบหน้าต่าง เกิดจากอะไรบ้าง ?

  1. วัสดุที่ใช้ในการติดตั้งและอุดรอยต่อเกิดการเสื่อมสภาพ
  2. ผนังตรงบริเวณมุมขอบหน้าต่างร้าวแนวเฉียงจนทำให้น้ำรั่วซึม
  3. ช่องระบายน้ำของขอบอลูมิเนียมหน้าต่างเกิดอุดตัน
  4. การติดตั้งหน้าต่างอลูมิเนียมที่ไม่พอดี ไม่เข้าฉาก หรือไม่ได้มุม 45 องศา
  5. ผนังขอบหน้าต่างแตกร้าว

 

แก้ปัญหาโดยอุดรอยซ่อมน้ำรั่วซึมด้วยซิลิโคน หรือ ยาแนว

 

ซิลิโคนยาแนว (Silicone Sealant) มีความยืดหยุ่นสูง แห้งตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวและวัสดุหลายประเภท  เหมาะกับงานอุดรอยรั่ว รอยร้าว ช่วยป้องกันการรั่วซึมซึม แต่ไม่เหมาะกับงานแนวกระจกอาคารสูง

ก่อนการอุดรอยรั่วซึม จะต้องทำการหาสาเหตุว่าจุดที่รั่วซึมมาจากผนังภายในหรือภายนอกตัวบ้าน เพื่อที่จะได้ทำการอุดรอยรั่วได้ตรงจุด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็มักจะอุดรอยรั่วซึมจากบริเวณผนังนอกตัวบ้าน การอุดรอยน้ำรั่วซึมจากน้ำฝน สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยวิธีดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนทำความสะอาดพื้นผิวโดยรอบให้สะอาด

  • ใช้เกรียงหรือมีดคัตเตอร์ ขูดเอาซิลิโคนเดิมที่เสื่อมสภาพออก
  • ใช้เทปกาวแปะ เพื่อเป็นแนวกั้นไม่ให้ซิลิโคนที่จะยิงเลอะส่วนอื่นๆ
  • ตัดปลายหัวฉีดให้มีขนาดเหมาะสมกับรอยต่อ
  • ใส่หลอดในปืนยิงซิลิโคน ถือปืนยิงทำมุมประมาณ 45 องศากับร่อง
  • สามารถใช้เกรียงในการช่วยปาด หรือใช้นิ้วมือกดซิลิโคนให้แน่นขึ้นได้ แต่ควรใส่ถุงมือป้องกัน
  • ลอกเทปกาวออก และปล่อยให้ซิลิโคนแห้งสนิท ใช้เวลา 24-48 ชั่วโมง เพียงเท่านี้ก็สามารถแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมแบบง่ายๆได้ด้วยตัวเอง
Read More

ความรู้งานก่อสร้าง “กันซึมดาดฟ้า”

สาระน่ารู้ :

สิ่งที่เราอาจคาดไม่ถึง เกี่ยวกับสาเหตุของดาดฟ้ารั่วซึม

1. ดาดฟ้ารั่วซึมเพราะมีรอยแตกร้าว

รอยแตกร้าวบนพื้นผิวดาดฟ้า สาเหตุเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทั้งจากแสงแดด ความเย็น ฝน ปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้พื้นผิวคอนกรีตดาดฟ้าเกิดการยืดและหดตัวจนเกิดเป็นรอยแตกร้าว

2. ขอบมุมพื้นและผนังดาดฟ้าเกิดรอยแตกร้าว แต่ไม่ได้รับการแก้ไข

รอยต่อตามขอบมุมบนดาดฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รอยต่อระหว่างพื้นกับกำแพง ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยงที่ทำให้ดาดฟ้าเกิดการรั่วซึม หากปล่อยไว้นาน ไม่จัดการกับรอยต่ออย่างเหมาะสม หรือไม่มีการติดตตั้งระบบ กันซึมดาดฟ้า รอยแตกร้าวต่างๆ จะยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากไม่ได้รับการปกป้อง เมื่อฝนตก น้ำและความชื้นจะสะสมอยู่ตามขอบมุมรอยแตกร้าว

3. ดาดฟ้ารั่วซึมเนื่องจากมีการติดตั้งวัสดุอื่นบนดาดฟ้า ส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าว

การติดตั้งสิ่งของต่างๆ เช่น แทงก์น้ำ หรือการต่อเติมดาดฟ้า ถือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ดาดฟ้าเกิดการแตกร้าวรั่วซึม การทำระบบ กันซึมดาดฟ้า ที่มีความยืดหยุ่นสูง จะช่วยลดความเสี่ยงที่พื้นผิวจะฉีกขาดจนเกิดเป็นรอยให้น้ำเข้าได้

4. ดาดฟ้ารั่วซึม เพราะช่องระบายน้ำอุดตัน

สาเหตุนี้เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และแก้ไขได้ง่ายที่สุด แต่เราก็มักจะปล่อยปละละเลยมากที่สุดอีกเช่นกัน ดังนั้น หมั่นขึ้นไปตรวจสอบดาดฟ้าอย่าให้มีเศษใบไม้กิ่งไม้ทับถมช่องระบายน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังบนดาดฟ้า เท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องดาดฟ้ารั่วซึมได้เป็นอย่างดี

 

กันซึมดาดฟ้า หลังคา เลือกแบบไหนดี?

ทีโอเอมีกลุ่มเคมีภัณฑ์กันซึมที่สามารถแก้ไขและป้องกันเรื่องดาดฟ้าหลังคารั่วซึม มากถึง 3 รุ่นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ทีโอเอ พียู วอเตอร์พรูฟ (TOA PU Waterproof)  ทีโอเอ 201 รูฟซีล (TOA 201 Roofseal)  ทีโอเอ รูฟซีล ซันบล็อก (TOA Roofseal Sunblock)  ซึ่งทั้งหมดเป็น กันซึมดาดฟ้า หลังคา ชนิดไร้รอยต่อ สามารถป้องกันน้ำผ่านได้ 100% และยังมีความยืดหยุ่นสูง ช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแตกร้าวที่อาจมีเพิ่มมากขึ้น

การเลือก กันซึมดาดฟ้า หลังคา นั้นง่ายมาก เพียงแค่ตอบคำถามในใจคุณเองให้ได้ว่า 

1.ต้องการความทนทานนานแค่ไหน

2.ลักษณะการใช้งานของชั้นใต้ดาดฟ้าหลังคานั้นเป็นอย่างไร

เท่านี้ก็จะเลือก กันซึมดาดฟ้า หลังคา ที่จะนำมาใช้งานได้แล้ว กันซึมดาดฟ้า หลังคา ทีโอเอ พียู วอเตอร์พรูฟโพลียูรีเทน ทากันน้ำรั่วซึมบนดาดฟ้า หลังคาที่ทนทานนานที่สุด  วัสดุกันซึมประเภทโพลียูรีเทนนั้น นอกจากจะมีความทนทานยาวนานกว่า 10 ปีแล้ว ยังสามารถทนน้ำขังได้เป็นเวลากว่า 30 วัน และมีความยืดหยุ่นสูงถึง 800% เรียกได้ว่าเป็น กันซึมดาดฟ้า หลังคา ที่ดีที่สุด พรีเมี่ยมที่สุด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ กันซึมดาดฟ้า หลังคา ของทีโอเอเลยก็ว่าได้

 

1. ทำความสะอาดดาดฟ้าเพื่อเตรียมพื้นผิว

ขูดแซะวัสดุกันซึมเดิมและปูนที่เสื่อมสภาพออก รวมถึงขัดล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยแล้วทาน้ำยา ทีโอเอ 113 ไมโครคิล (TOA 113 Microkill)  เพื่อกำจัดเชื้อราและตะไคร่น้ำบนดาดฟ้าให้หมดไป จากนั้นทิ้งให้แห้งแบบไม่ต้องล้างน้ำออก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

 

2. อุดโป๊วรอยแตกร้าวด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ใช้ทีโอเอ โพลียูรีเทน ซีลแลนท์ (TOA PU Sealant) ซึ่งเป็นซีลแลนท์อุดโป๊วที่มีความยืดหยุ่นสูง กันน้ำได้ และทนต่อสภาวะอากาศได้ดีเยี่ยม

 

3. เริ่มทาอะคริลิกกันซึม ทีโอเอ 201 รูฟซีล แบบผสมน้ำ เพื่อทาเป็นชั้นรองพื้น

เปิดฝาอะคริลิกกันซึมดาดฟ้า ทีโอเอ 201 รูฟซีล แล้วกวนให้เข้ากัน จากนั้นตักแบ่งออกมาเพื่อผสมน้ำ ใช้อัตรา กันซึมดาดฟ้า 3 ส่วน ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร คนให้เข้ากันกับน้ำ แล้วทาเป็นชั้นรองพื้น อย่าลืมทายกขอบเป็นแนวบัวผนัง ประมาณ 10 เซนติเมตร

 

4. เสริมความแข็งแรงตามขอบมุม และรอยแตกร้าวบนดาดฟ้า

วางแผ่นทีโอเอ ไฟเบอร์ เมช (TOA Fibre Mesh) ตามขอบมุมและตามรอยแตกร้าวต่างๆ ใช้ลูกกลิ้งหรือแปรงรีดแผ่นตาข่าย ทีโอเอ ไพเบอร์ เมช ให้แนบสนิทไปกับ กันซึมดาดฟ้า ที่ทาเป็นชั้นรองพื้น ในขณะที่ชั้นรองพื้นยังหมาดอยู่ เสร็จแล้วทิ้งให้แห้งประมาณ 2-4 ชั่วโมง

 

5. ทาอะคริลิกกันซึมบนดาดฟ้าอีก 2 รอบ แบบไม่ต้องผสมน้ำ

เมื่ออะคริลิก กันซึมดาดฟ้า ชั้นรองพื้นแห้งดีแล้ว ให้ทากันซึมดาดฟ้าซ้ำอีก 2 รอบ แบบไม่ต้องผสมน้ำ ในแต่ละเที่ยวการทา ให้ทาไขว้กันตามภาพ เช่น รอบที่หนึ่ง ทาขึ้นหรือลง แล้วรอแห้ง 2-4 ชั่วโมง  รอบที่สองทาแนวขวางจากซ้ายไปขวา  แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง เพียงเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย

 

       

        

Read More