ความรู้งานก่อสร้าง “ต้องรู้อะไรบ้างก่อนต่อเติมบ้าน”
สาระน่ารู้ : การต่อเติมบ้าน ควรต้องรู้เรื่องอะไรบ้างก่อนจะต่อเติมบ้าน
ก่อนที่จะต่อเติมบ้าน เราควรต้องรู้และศึกษาเรื่องอะไรบ้าง ก่อนที่คิดจะต่อเติมบ้าน
ปัจจุบันด้วยสภาวะเศรษฐกิจและข้าวของ ที่ดินที่มีราคาแพงขึ้น จนจับต้องได้ยาก ดังนั้นการใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่แล้ว นำมาดัดแปลง แก้ไข ปรับปรุง ให้สามารถเพิ่มมูลค่ามากขึ้นจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้ในสิ่งที่เราต้องการอีกด้วย การต่อเติมบ้านซึ่งเรามีพื้นที่เหลืออยู่แล้ว ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องใหญ่ที่ช่วยให้เราไม่ต้องไปหาซื้อบ้านใหม่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานภายในบ้านเรา และถ้าหากเรามีโครงการที่จะต่อเติมบ้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเรา สิ่งที่เราควรจะต้องรู้ก่อนการต่อเติมบ้านนั้น ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะถ้าหากเราไม่รู้เรื่องต่อไปนี้ เราก็จะเจอกับปัญหาต่างๆมากมายตามมาอย่างแน่นอนในการต่อเติมบ้าน ดังนั้นหากเรากำลังคิดจะต่อเติมบ้าน ไม่จะเป็นห้องครัวหลังบ้าน ห้องนั่งเล่นข้างบ้าน ห้องทำงาน ห้อน้ำ ฯลฯ เราต้องรู้เรื่องต่อไปนี้ก่อนจะต่อเติมบ้านนะครับ
ก่อนที่จะต่อเติมบ้าน เราควรต้องรู้และศึกษาเรื่องต่อไปนี้ ก่อนที่คิดจะต่อเติมบ้าน
กฎหมายต่อเติมบ้านที่คุณต้องรู้ เพื่อป้องกันความเสียหายและผิดกฎหมายในอนาคต
สำหรับเจ้าของบ้านที่มีความคิดจะต่อเติม เสริมแต่งบ้าน เช่น ครัวไทยยื่นออกมานอกบ้าน โรงจอดรถ ห้องสำหรับผู้สูงวัย หรือห้องเก็บของ ถึงแม้จะทำในพื้นที่บ้านตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่าการต่อเติมใดๆ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการต่อเติม เพื่อป้องกันความเสียหายและการผิดกฎหมายในอนาคต
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้านโดยตรง คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งสรุปเอาไว้ให้เข้าใจง่าย คือ การจะดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ต้องแจ้งและต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ ตามมาตรา 21 พร้อมต้องยื่นแบบแปลน รวมถึงชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงาน ให้เจ้าพนักงานทราบ
รายละเอียดการต่อเติมบ้านตามกฎหมายที่คุณต้องรู้
1. ห้ามต่อเติมบ้าน อาคารเต็มพื้นที่ดิน ต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไม่น้อยกว่า 30% สำหรับการต่อเติมบ้าน
กฎหมายไม่อนุญาตให้ต่อเติมบ้าน ที่พักอาศัยจนเต็มทั้งพื้นที่ของที่ดิน โดยต้องที่เว้นว่าง ระหว่างตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเองอย่างน้อย 30% ของพื้นที่ ในการต่อเติมบ้าน เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิด เช่น เหตุเพลิงไหม้ เพราะเมื่อเกิดเหตุดังกล่าว ถ้าบ้านติดกันไม่มีช่องว่างจะเกิดการล่ามไฟได้ง่าย พนักงานดับเพลิงไม่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้ ถ้าไม่มีพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร การระบายอากาศก็ไม่ดีทำให้บ้านอับชื้น
- ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของที่ดิน ในการต่อเติมบ้าน
- ที่ว่างโดยรอบอาคาร ถ้าอาคารสูงน้อยกว่า 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรอบ 1.00 เมตร ถ้าอาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตร ต้องมีที่ว่าง โดยรอบ 2.00 เมตร ในการต่อเติมบ้าน
2. แนวอาคารและระยะร่นต่างๆ ในการต่อเติมบ้าน
- รั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้วให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ ในการต่อเติมบ้าน
- อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ผนังของอาคาร,ช่องเปิด (หน้าต่าง,ประตู,ช่องลม,ช่องแสง) หรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดิน 3 เมตร ในการต่อเติมบ้าน
- อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของผนัง,ช่องเปิด (หน้าต่าง,ช่องลม,ช่องแสง) ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ในการต่อเติมบ้าน
3. ต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านข้างเคียง ก่อนการต่อเติมบ้าน
- เพื่อนบ้านข้างเคียงคือ สังคมที่เราต้องอยู่ร่วมกันในระยะยาว ดังนั้นการต่อเติมบ้าน ที่อยู่อาศัยจึงควรบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้รับรู้ และขอความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน ก่อนการต่อเติมบ้าน เพื่อป้องกันความขัดแย้งในการก่อสร้าง โดยเฉพาะหากเจ้าของบ้านต้องการต่อเติมบ้าน ชิดเขตที่ดินของเพื่อนบ้าน หากไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ไม่สามารถต่อเติมบ้าน ชิดเขตพื้นที่ได้ ต้องเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 50 เมตรและต้องเป็นผนังทึบไร้ช่องเปิดเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย ในการต่อเติมบ้าน
4. ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานในพื้นที่ ก่อนการต่อเติมบ้าน
การต่อเติมบ้าน ทั้งบ้านชั้นเดียว และต่อเติมบ้านหลายชั้น จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน หากมีการต่อเติมบ้าน ในขอบเขตดังต่อไปนี้
- การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตรหรือตารางเมตร
- การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน ในการต่อเติมบ้าน
- การต่อเติมบ้าน ที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม
- การต่อเติมบ้าน ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวณฐานรับน้ำหนัก
เรื่องโครงสร้างของตัวอาคารที่จะต่อเติมบ้าน อาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องรากฐานตัวอาคาร
งานรากฐานตัวอาคารที่คิดจะต่อเติมบ้าน เพิ่มใหม่นั้น ควรจะต้องมีรากฐานที่มั่นคงแข็งแรงเทียบเท่ากับตัวบ้านเดิม กล่าวคือจะต้องมีการลงเสาเข็มลักษณะเดิมกับตัวบ้านเดิม คือลงถึงชั้นดินดาน ไม่ควรลงเข็มที่น้อยกว่านั้น เพราะจะเกิดความเสียหายอย่างมาก หากมีการทรุดตัวของฐานราก ดังนั้นหากคิดจะต่อเติมห้องครัวหลังบ้าน ต้องระวังเรื่องฐานรากเป็นเรื่องแรกๆเลยที่เดียว (สำคัญที่สุด)
โดย บริษัท แพรวพรรณราย คอมเมอร์เชียล จำกัด เรามีทีมงานช่างมืออาชีพ ไว้คอยให้บริการ งานต่อเติมบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ปรับปรุงบ้าน และงานก่อสร้างอื่นๆ หากสนใจ สามารถ ติดต่อ ได้ที่ คุณนพดล เบอร์ 086-307-1065 / คุณเล็ก เบอร์ 083-428-1117